วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

อินเทลล้ำเอเอ็มดีไปอีกขั้นด้วยการพร้อมผลิตซีพียูขนาด 32 นาโนเมตร

ในขณะที่เอเอ็มดีกำลังง่วนอยู่กับการแบ่งครึ่งบริษัทเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งดูแลเรื่องการออกแบบซีพียูโดยเฉพาะ
กับอีกส่วนหนึ่งดูแลเรื่องการผลิตอยู่นั้น อินเทลก็พร้อมจะลุยไปที่การผลิตซีพียูที่ 32 นาโนเมตร


คุณเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ได้ให้ข้อมูลว่า จาก Tick-Tock Development Model ที่อินเทลนำมาก่อนหน้านี้นั้น วันนี้มีข่าวดีว่า
อินเทลพร้อมที่จะก้าวข้าวสู่สายการผลิตได้จริงๆ ในปลายปีนี้เลย จากเดิมที่คาดว่าจะเข้าสู่สายการผลิตได้
ในปี 2010 โดยซีพียูรุ่นแรกๆ น่าจะเป็นเดสก์ท็อปก่อน แล้วตามด้วยโน้ตบุ๊กซึ่งชื่อรหัสการผลิตคือ “เวสท์เมียร์”



ดีกว่าเดิมอย่างไร

คุณเอกรัศมิ์ เล่าให้ฟังว่าจากการที่อินเทลใช้เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ที่มีส่วนผสมของ Hi-k + metal gate
ในสถาปัตยกรรม 45 nm แล้วไม่เกิดปัญหาในเรื่องการเลื่อนของอิเลคตรอน จนทำให้เกิดปัญหาเรื่องความร้อน
ที่เคยเป็นมาในอดีตแล้ว ใน“เวสท์เมียร์” ในได้มีการเปลี่ยนไปใช้ Hi-k + metal gate รุ่นที่สอง ซึ่งจะส่งผล
ให้การเลื่อนของอิเลคตรอนลดลงไปตั้งแต่ 5 เท่าไปถึง 10 เท่า พร้อมทั้งมีการปรับขนาดอ๊อกไซด์ให้เล็ก รวมไป
ถึงการทำให้ Gate Link เล็กลงกว่าเดิมถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อินเทลสามารถใส่คอร์ได้สูงถึง 6 คอร์ 12
ในโพรเซสเซอร์เดียว (แต่ซีพียูตัวแรกที่เป็น 6 คอร์คือ Xeon 7400 Series) มีแคชขนาด 4 เมกะไบต์
สำหรับนหน่วยความจำนั้นรองรับทั้ง Triple Channel และ Dual Chanel แต่ขึ้นอยู่กับรุ่นของซีพียู
นอกจากนี้มีระบบกราฟิกในตัว รองรับการทำงานของการใช้การ์ดจอแยกและการสลับการทำงานระหว่างกราฟิก
ในตัวและการ์ดจอ และเพิ่มคำสั่งในการเข้าและถอดรหัสอีก 7 คำสั่งเพื่อรองรับการเข้ารหัสระดับสูงที่จะเกิดขึ้น
ในอณาคต เช่นการเข้ารหัสฮาร์ดดิสก์ทั้งตัวที่เป็นค่าดีฟอลต์อยู่ในไบออส โดยทั้งหมดนี้ยังคำทำงานร่วมกับชิบเซ็ต X58
อยู่เหมือนเดิม (สำหรับคนที่สนใจว่าจะได้เห็น USB 3.0 และ SARA-III ในปีหนี้หรือไม่นั้น ทางอินเทล
ยังไม่มีในข้อมูลว่าจะชิบ X58 นี้จะสนับสนุนหรือไม่ คงต้องรอข้อมูลปลายๆ ปีอีกที)



โดยในการผลิตครั้งนี้อินเทลจะใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2552-2553
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขนาด 32 nm ส่งผลให้งบลงทุนทั้งหมดที่อินเทลลงทุนไปกับการพัฒนา
เทคโนโลยี 32 nm ในสหรัฐฯ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าวมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่มีมูลค่าในการลงทุนมากที่สุดที่เคยมีมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น